ด้วยเทคโนโลยีของเรา Rabbit Prototype เราจึงกล้าการันตีเลยว่า ทุกชิ้นงาน ทุกความต้องการ สามารถทำให้เป็นจริงได้ อย่างเช่นชิ้นงานตัวนี้ ที่เราสามารถทำออกมาได้โดยการพิมพ์ในครั้งเดียว ไม่ต้องประกอบแต่อย่างใด
#FDM #Prototyping #3DPrinting
——————————————————————————-
สอบถามรายละเอียดบริการ
☎️ 0-2744-9874
📮 service@rabbitprototype.com
ภาพการทำงานในเช้านี้ ทีมงานของเรา เร่งผลิต ส่งชิ้นงานลูกค้า
เพื่อให้ลูกค้าได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพที่สุด!!
#3dPrinting #Prototype #RabbitPrototype #rapidprototype
1,200 ชิ้น ภายใน 3 วัน ที่ทาง Rabbit Prototype ร่วมกับ AppliCAD พวกเรามีความตั้งใจอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ทัน เพื่อแจกในงาน AppliCAD’s SolidWorks Innovation Day 2017 ที่ผ่านมานี้
#AppliCAD #SolidWorks2017 #SWID2017 #RabbitPrototype #3DPrinting#AppliCADThai
การทำงานของเครื่อง FDM
VDO แสดงการทำงานของ FDM (Fused Deposition Modeling )
#3dPrinting
เครื่องเดินแล้ว สำหรับงานลูกค้า
นึกถึง 3D Printing นึกถึง Rabbit Prototype
_______________________________________
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
☎️ 0-2744-9874
📮 service@rabbitprototype.com
งาน CNC :
เกิดจากความร่วมมือของ Rabbit Prototype และ ทีม SolidCAM (AppliCAD)
#CNC #3dmodels #prototype #3dPrinting
_______________________________________
สนใจงาน Prototype สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
☎️ 0-2744-9874
📮 service@rabbitprototype.com
พิมพ์วัตถุใช้เอง?
3D Printing คือกระบวนการผลิตรูปแบบหนึ่งซึ่งนำวัตถุดิบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก โลหะ ฯลฯ มาขึ้นรูปชิ้นงานทีละชั้นจนได้เป็นรูปทรงที่สามารถจับต้องได้ โดยสิ่งที่ผู้ใช้จะต้องมีคือเครื่องพิมพ์ระบบสามมิติ (3D Printer) วัตถุดิบ และพิมพ์เขียวของวัตถุที่เราต้องการ “พิมพ์” ออกมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบไฟล์ CAD (Computer Aided Design) หรือไฟล์ 3D Scanner
จะว่าไปเทคนิค 3D Printing ก็ไม่ใช่ของใหม่นัก เพราะได้มีการใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการ Rapid prototyping หรือการทำต้นแบบรวดเร็ว มาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980 แล้ว โดยอีกชื่อหนึ่งที่อาจเคยได้ยินในแวดวงวิศวกรรมเครื่องกลคือ Additive Manufacturing (AM) หรือการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการเติมเนื้อวัสดุเข้าไป ซึ่งจะต่างจากการผลิตแบบสกัดเนื้อวัสดุออกหรือ Subtractive Manufacturing (SM) อย่างเช่น การกลึง เจาะ ไส หรือเจียรไน เป็นต้น เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า 3D Printing ก็คือกระบวนการที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของเทคนิคดังกล่าวนั่นเอง
ขั้นตอนการทำงานของ 3D Printing สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันคือ 1. ขั้นแรกจะต้องทำการสร้างรูปแบบจำลองสามมิติจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท CAD/CAM หรือทำการสแกนวัตถุแบบสามมิติให้ได้รูปทรงของวัตถุออกมา 2. นำข้อมูลที่ได้มาใส่เครื่องพิมพ์สามมิติ และ 3. ปล่อยให้ระบบสร้างวัตถุขึ้น โดยเริ่มจากชั้นล่างสุดค่อยๆ ขึ้นมาเหมือนกับการสร้างพีระมิดนั่นเอง สำหรับเวลาที่ใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนของงาน หรือความเร็วของเครื่องพิมพ์ ซึ่งอาจกินเวลาตั้งแต่หลายนาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง
ประโยชน์ของ 3D Printing ที่เห็นได้ชัดเจนมากสุดก็คือ เปิดโอกาสให้นักออกแบบสามารถเห็นโมเดลสามมิติที่ตนออกแบบได้ในทันที ทำให้สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลาว่าจ้างผู้ผลิตรายอื่น จึงถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุนอีกทางหนึ่ง สำหรับเจ้าของโรงงานเองก็สามารถผลิตสินค้าเท่าที่มีการสั่งซื้อ ทำให้ตัดประเด็นเรื่อง “การประหยัดทางขนาด” (economy of scale) เพื่อลดต้นทุนการผลิตลงไปได้ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บสินค้า และประหยัดต้นทุนได้มากกว่าเมื่อเทียบกับกระบวนการ SM ที่เราต้องเสียวัตถุดิบระหว่างการผลิตมาก ด้านผู้บริโภคก็ได้รับประโยชน์ในแง่ที่ว่าคนที่อยู่ห่างไกลจะสามารถผลิตวัตถุขึ้นใช้เองได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามายังตัวเมือง เพียงแค่ดาวน์โหลดพิมพ์เขียวจากอินเทอร์เน็ตก็สามารถสร้างวัตถุขึ้นใช้ได้เอง
แต่เดิมเทคนิค 3D Printing มักถูกใช้เพียงเพื่อสร้างวัตถุต้นแบบจากโมเดลสามมิติ แต่ในปัจจุบันเราก็ได้เริ่มเห็นการใช้งานเพื่อสร้างวัตถุเพื่อใช้งานจริงกันมากขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการผลิตโมเดลของเล่น เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์แบบง่ายๆ ไปจนถึงชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องบิน นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มที่จะนำไปประยุกต์ใช้อีกหลายด้าน ทั้งการสร้างรูปปั้นสำหรับบรรดาศิลปิน การสร้างโมเดลของวัตถุโบราณที่บุบสลาย ด้านประโยชน์ด้านการแพทย์ก็มี เช่นการทำขาเทียม ฟันปลอม กระดูก หรือในอนาคตเราก็อาจสามารถสร้างเซลล์ของอวัยวะได้จากระบบการพิมพ์สามมิตินี้
ภาพหัวกะโหลกนี้สร้างมาจากเทคนิค 3D Printing เห็นได้ชัดว่าการนำมาใช้ด้านการแพทย์คงไม่ไกลเกินเอื้อม
และที่ไม่น่าเชื่อแต่ว่าเป็นไปแล้วก็คือ การทำอาหาร! โดยเฉพาะการขึ้นรูปวัตถุของแข็งกึ่งเหลว เช่น การทำชีส ไอซ์ซิ่ง หรือช็อคโกเลตให้เป็นวัตถุต่างๆ ตามต้องการ โดยตอนนี้ French Culinary Institute กำลังศึกษาระบบ 3D Printing เสรี (open-source) ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Cornell ในเว็บไซต์ Fab@Home เพื่อสร้างเมนูอาหารให้แปลกตาไม่เหมือนใคร ส่วนทางสถาบัน MIT ก็ได้สร้างเครื่องพิมพ์สามมิติสำหรับการทำอาหารที่มีชื่อว่า Cornucopia ด้วยเช่นกัน
อนาคตของ 3D Printing
3D Printing เปิดโอกาสให้เราทำสิ่งที่เราไม่เคยทำได้มาก่อน รวมทั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยนักวิเคราะห์หลายรายชี้ว่าผลกระทบที่ตามมานั้นอาจมากมายไม่ต่างจากสิ่งที่เครื่องจักรไอน้ำเคยก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือไมโครชิพก่อให้เกิดการปฏิวัติดิจิตัล แต่ก่อนที่เราจะไปถึงจุดนั้น 3D Printing ยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่างด้วยกัน
เริ่มจาก ราคาซึ่งยังนับว่าแพงมาก โดยเฉพาะเครื่ิองพิมพ์สามมิติคุณภาพสูงสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ส่วนเครื่องพิมพ์ที่สามารถใช้ตามบ้านได้นั้นก็ยังได้งานที่ค่อนข้างดิบ ทำงานช้า รองรับวัตถุดิบได้้น้อย และอาจยังไม่สามารถสร้างวัตถุที่มีความซับซ้อนพอจะสามารถนำมาใช้งานอะไรจริงจงั แต่ข้อจำกัดดังกล่าวก็อาจถูกทำลายลงได้ เช่นราคาขายที่มีแนวโน้มถูกลงเรื่อยๆ เนื่องจากเริ่มเป็นธุรกิจที่มีผู้คนให้ความสนใจ เกิดผู้เล่นรายใหม่มากมาย และการที่โครงการเครื่องพิมพ์สามมิติหลายรายถูกปล่อยพัฒนาอย่างเสรีก็ทำให้เกิดชุมชุนผู้ใช้เพิ่มขึ้น ส่งผลดีให้เคยไอเดียและแนวคิดใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดของเดิม
หากเราสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดตรงนี้ไปได้ อนาคตของ 3D Printing ก็นับว่าสดใส ลองคิดดูว่าจะดีแค่ไหนหากว่าผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ลงไปได้ด้วยการพิมพ์ออกมาใช้งานเองโดยไม่ต้องว่าจ้างโรงงานจากต่างแดน รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่เพิ่งเริ่มกิจการ สามารถลองผิดลองถูกผลิตแบบสิ่งของตามที่ลูกค้าสั่งได้ เมื่อทุกอย่างลงตัวก็ค่อยเริ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นจำนวนมากแบบดั้งเดิมต่อไป ส่วนผู้บริโภคเองต่อไปก็อาจไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเพื่อซื้อของใช้เล็กๆ น้อยๆ สามารถซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ได้เอง เพียงแค่ดาวน์โหลดพิมพ์เขียวลงเครื่อง แล้วก็ “พิมพ์” ออกมา
ดังนั้นคำว่า “ปฏิวัติ” อาจอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร e-commerce ฉบับที่ 161 ประจำเดือนพฤษภาคม 2555


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เรามีบริการประเมินราคาให้ฟ


เมื่อการ เซฟฟี่แบบธรรมดามันเอ้าท์ไปแล้ว….
ต้องนี่เลย 3D Printed Selfies 📷
✨
ไม่ใช่แค่เห็นหรือดู แต่สัมผัสได้ด้วยนะ
_______________________________________
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
☎ 02-744-9874-5
✉ service@rabbitprototype.com
หรือ Inbox เข้ามาคุยกัน น้องต่าย 🐰 ประเมินราคาให้ฟรีค่ะ
มาทำไอเดียของคุณ ให้ออกมาโลดเล่นกันเถอะ
#Rabbit3DPrinting#3dprinting#3dprinter
วันนี้ 🐰 ชวนมาดู Product Design ของ Mr.Matthijs Kok มันคือที่ตั้งโทรศัพท์มือถือ พร้อมเป็นลำโพงไปในตัว ดีไซน์ได้สวยมากๆ เหมือนวัสดุไม้จริงๆ เลยละ
แอบบอกดังๆ ว่าผลิตด้วย นวัตกรรมใหม่ 3D Printing
สนใจเข้าไปชม Product ตัวนี้ได้ที่ www.matthijskok.nl
_______________________________________
หรือ…หากคุณมีไอเดีย และอยากจะทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา
ติดต่อหาน้องกระต่ายได้เลยนะคะ
☎ 02-744-9874-5
#Rabbit3DPrinting #3dprinting #3dprinter