เตรียมพบกับงานออกแบบสู่งานพิมพ์ 3 มิติ
พบเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และ 3D Scanner
ได้ที่งาน ArchiCAD BIM CONFERENCE 2016
วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 ไบเทค บางนา
ลงทะเบียนก่อน 31 พ.ค. 59 รับ Sticker Line ฟรีในงาน
คลิกที่นี่เลย >>> http://goo.gl/YExggf
เตรียมพบกับงานออกแบบสู่งานพิมพ์ 3 มิติ
พบเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และ 3D Scanner
ได้ที่งาน ArchiCAD BIM CONFERENCE 2016
วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 ไบเทค บางนา
ลงทะเบียนก่อน 31 พ.ค. 59 รับ Sticker Line ฟรีในงาน
คลิกที่นี่เลย >>> http://goo.gl/YExggf
เราไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า 70 – 80 % ในการดำรงชีวิตของเราทุกวันนี้ เทคโนโลยีก็เปรียบเหมือนเครื่องมืออันสำคัญที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก ทั้งนี้ผมมองการใช้ชีวิตว่าอะไรๆ ที่ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย แถมถ้าขั้นตอนสะดวกก็ยิ่งดี ซึ่งนั่นจะช่วยตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากยิ่งขึ้น เพราะในมุมมองของการแข่งขันแล้ว ไม่มีใครรอใคร ใครไวใครได้ คนที่ปรับตัวเร็วที่สุดก็จะได้เปรียบมากที่สุด
วันนี้ผมขอพูดถึงเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเรื่องใกล้ๆ ตัว ที่ทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น หลายท่านคงรู้จักกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) เทคโนโลยีที่เนรมิตจินตนาการให้กลายเป็นชิ้นงานต้นแบบจริงได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง คิดอะไรก็สามารถปริ้นท์ได้แบบนั้น ทำให้ความคิดไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความคิด แต่เป็นความจริงที่สามารถต่อยอดได้
และผมจะพาทุกท่านมาดูขั้นตอนทั้งหมดของการใช้เทคโนโลยีจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ในการสร้างโมเดลหุ่นจำลองกันครับ โดยวิธีการเริ่มต้นจากการ Download ไฟล์งานที่เป็น 3D Modeling จากแหล่งต่างๆ ที่มีทั้งแจกให้เราสามารถโหลดได้ฟรี และแบบเสียเงิน หรือซื้อไฟล์ 3 มิติ มาเพื่อทำการปริ้นท์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จากนั้นเมื่อได้งานจริงออกมาเราจะไปทำสีให้ดูเป็นงานที่สมจริงมากขึ้น
สำหรับโมเดลที่นำเสนอในครั้งนี้ ผมจะเริ่มจากการ Download ไฟล์งานที่เป็น 3D Modeling จากเว็บไซต์ที่เป็นการแชร์ให้โหลดได้ฟรีครับ
เมื่อได้ไฟล์ 3 มิติ มาแล้วเราก็จะทำการสั่งพิมพ์ในแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและสามารถสร้างรูปทรงของงานได้แบบไม่จำกัด
เริ่มจากการเตรียมไฟล์ปริ้นท์ด้วยโปรแกรมของเครื่องพิมพ์จาก Stratasys
หลังจากปริ้นท์งานเสร็จแล้ว ต้องทำการกำจัดวัสดุ Support ออกจากชิ้นงาน จากนั้นก็พร้อมสำหรับขั้นตอนถัดไป
คราวนี้ก็มาสู่ขั้นตอนการทำสีให้กับตัวโมเดล โดยเราจะเริ่มจากการพ่นสีรองพื้น เพื่อเตรียมผิวงานก่อน
จากนั้นก็ลงสีจริงให้กับโมเดลได้ตามใจชอบ ซึ่งในบางจุดที่ต้องการปิดไม่ให้โดนสีอื่นก็ใช้เทปกาวหรือกระดาษมาปิดไว้
พอใสสีลงไปก็ทำให้งานจากแค่ก้อนเรียบๆ สีเดียว กลายเป็นโมเดล Action Figure ที่ดูสมจริงมากขึ้น
คราวนี้ก็เอาไปวางโชว์อวดเพื่อนๆ ได้แล้วขั้นตอนไม่ยากเลยใช่ไหมครับ เพียงแค่นี้เราก็สามารถมีชิ้นงานเป็นของตัวเองได้ง่ายๆ
บทความ : สุชนม์ โพธิ์พริก
การสำรวจล่าสุดพบว่าการประยุกต์ใช้งานพิมพ์วัตถุ 3 มิติหรือ 3D printing ในอุตสาหกรรมยานยนต์อาจจะสร้างเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2019 อัตราการเติบโตมากกว่า 5 เท่าตัวในเวลา 5 ปีนี้สะท้อนเทรนด์อนาคตว่าโลกกำลังมีธุรกิจดาวรุ่งเกิดขึ้นอีกดวง
บริษัทวิจัย SmarTech เผยผลวิจัยล่าสุดแก่สำนักข่าว 3D Printing Industry ว่าปัจจุบัน เม็ดเงินสะพัดในวงการงานพิมพ์ 3 มิติของอุตสาหกรรมรถยนต์นั้นมีมูลค่าราว 267 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นงบประมาณสำหรับซื้อฮาร์ดแวร์ 3D printing ราว 168 ล้านเหรียญต่อปี และอีก 99 ล้านเหรียญเป็นงบประมาณสำหรับซื้อวัสดุ
แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะยังไม่พัฒนาถึงขั้นพิมพ์ชิ้นส่วนรถด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทยานยนต์ต้องเทงบประมาณเพื่องานพิมพ์แห่งอนาคตคือการจำลองรถต้นแบบ จุดนี้นักวิเคราะห์ของ SmarTech อย่าง Scott Dunham เชื่อว่าในอนาคต รถต้นแบบที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติจะมีพัฒนาการจนถึงขั้นสามารถนำมาใช้กับการทดลองเครื่องยนต์ รวมถึงเพื่อสร้างเป็น concept car ก่อนการผลิตจริง เครื่องพิมพ์ 3 มิติในอนาคตอาจมีขนาดใหญ่มากและมีราคาสูง
ปัจจัยเหล่าทำให้มีความชัดเจนว่ามูลค่าเงินสะพัดดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าตัวเป็น 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2019 เท่ากับงานวิจัยชิ้นนี้ฉายภาพรวมชัดเจนว่าบริษัทในอุตสาหกรรมงานพิมพ์ 3 มิติจะสามารถทำเงินมากขึ้นทั้งกลุ่มฮาร์ดแวร์และวัสดุสำหรับพิมพ์แน่นอน
ในรายงานของ 3D Printing Industry มีการอ้างถึงเจ้าพ่อยานยนต์อเมริกันอย่าง Ford ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนสร้างโรงงานเพื่องานพิมพ์ 3D printing ถึง 3 แห่งในสหรัฐฯ และอีก 2 แห่งในยุโรป ขณะเดียวกันก็มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง ทั้งหมดนี้เพื่อความหวังในการย่นเวลาพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ของ Ford ให้สั้นลงและสามารถวางจำหน่ายได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม อนาคตของงานพิมพ์ 3 มิตินั้นยังมีความท้าทายอยู่ เนื่องจากบริษัททั่วโลกต่างกำลังชั่งใจระหว่างต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งยังต้องมีการวิเคราะห์และศึกษาให้รอบด้านต่อไป
ที่มา : VentureBeat
เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกวัน กระแส 3D Printing กำลังมาและตอบโจทย์ในแทบทุกวงการ ตั้งแต่กลุ่มอาหาร การแพทย์และทันตกรรม วงการแฟชั่น อุตสาหกรรมการออกแบบ อุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ ไปจนถึงวงการก่อสร้างและงานสถาปัตยกรรม ซึ่งวัสดุก็มีให้เลือกใช้หลากหลาย ตั้งแต่พลาสติก โลหะ เซรามิก แก้ว ยาง เป็นต้น
วงการอาหาร
นอกจากสามารถพิมพ์อาหารให้เป็นลวดลายตามใจ เช่น แพนเค้กรูปสัตว์ ยังสามารถขึ้นรูปเป็นสามมิติได้เช่นกัน เช่น ช็อกโกแลตรูปทรงดอกกุหลาบ นอกจากนี้ยังพิมพ์อาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถปลูกและกินได้ในชุดเดียวโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ
วงการแพทย์และทันตกรรม
เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติในการแพทย์และทันตกรรม มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถเชื่อมโยงกับการรักษาในหลายๆ ด้าน เช่น โครงร่างเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ป่วย โครงร่างใบหูแทนกระดูกอ่อนเพื่อให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาห่อหุ้มเป็นใบหู ชิ้นส่วนกระโหลก ฟันเทียม ขาเทียม แขนเทียม ไปจนถึงการสร้างไตเทียมและหลอดเลือดเทียม
แฟชั่นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับที่ขึ้นรูปจาก 3D Printing
ขอบคุณภาพ: www.applicadthai.com
การบินและอวกาศ
นอกจากจะผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องบินแล้ว ยังมีการผลิตชิ้นส่วนของจรวดบนอวกาศ เพราะ 3D Printer สามารถผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนและมีน้ำหนักเบา ช่วยย่นระยะเวลาและลดต้นทุนได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างจรวด การซ่อมแซมหรือสร้างชิ้นส่วนอะไหล่บางชิ้นที่บกพร่องมาทดแทนขณะเกิดเหตุขัดข้องขณะอยู่ในอวกาศได้ทันการณ์
วงการสถาปัตยกรรม (Architecture)
เป็นที่น่าจับตามองของวงการสถาปัตยกรรมกับการพิมพ์แบบสามมิติเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันไม่ได้หยุดอยู่ที่แค่โมเดลจำลองให้เห็นแนวคิดการออกแบบของสถาปนิกเพื่อให้เราเข้าใจภาพรวมและสเปซภายในบ้าน งานคอนโด หรือโครงการต่างๆ อย่างชัดเจนก่อนจะสร้างเสร็จสมบูรณ์เท่านั้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกลไปยังชิ้นส่วนและองค์ประกอบต่างๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปส่วนประดับตกแต่งเช่นบัวเชิงผนัง งาน Façade หรือ Skin ของอาคาร และที่เป็นไปแล้วคืองานสร้างบ้านทั้งหลังที่สามารถอยู่อาศัยได้จริงจากหุ่นยนต์ภายในเวลาเพียงไม่ถึง 1 วัน
3D Printing จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเปิดจินตนาการให้นักออกแบบในวงการต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร้ขีดจำกัดมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะทางและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยย่นระยะเวลาในกระบวนการผลิต รวมทั้งลดเศษขยะที่จะเหลือทิ้งจากการต้องผลิตจำนวนมากชิ้น จนน่าจับตามองว่า 3D Printing จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้สังคมและโลกพัฒนาไปในทิศทางใด
แขนวิเศษ (Magic Arms) ของหนูน้อยเอ็มม่า ลาแวล ผู้ซึ่งป่วยเป็นโรค AMC (Arthrogryposis Multiplex Congenital) แต่กำเนิด
ขอบคุณภาพ : www.applicadthai.com
การออกแบบแฟชั่นและเครื่องประดับ
3D Printing ช่วยให้การออกแบบแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ เป็นไปได้ดังใจ สามารถเพิ่มลูกเล่นเฉพาะตัวได้อย่างแตกต่าง ตัวอย่างเช่น ชุดชั้นในด้วยการพิมพ์จากไนลอนที่สามารถไล่ระดับตามรูปร่างโค้งเว้าของสรีระ ที่มีคุณสมบัติเหนียวและกันน้ำ ชุดราตรีที่ผลิตจาก 3D Printing ทั้งชุด นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับที่ออกแบบและสั่งพิมพ์ได้ทันใจ รวมถึงกระเป๋าและรองเท้าที่มีให้เห็นกันมากในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมการออกแบบ
เทคโนโลยีนี้มีอิทธิพลต่อนักออกแบบเป็นอย่างมากในแง่ของการขึ้นโมเดลต้นแบบ เพื่อให้ลูกค้ามองเห็น ทดลองหยิบจับ รวมถึงเข้าใจวิธีการใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าการดูภาพสามมิติในกระดาษ การทำโมเดล มีทั้งวิธีที่นักออกแบบเข้าสตูดิโอเพื่อทำแบบเอง และแบบที่เรียกว่า Rapid Prototyping ซึ่งคือกระบวนการทำต้นแบบผ่านโปรแกรม 3D ซึ่งสามารถขึ้นชิ้นงานได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ จึงมีบทบาทต่อวงการออกแบบเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ และสามารถปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ก่อนส่งไปยังกระบวนการผลิตจริงต่อไป เช่น มือถือ เป็นโมเดลให้ลองหยิบจับดูว่าถนัดเหมาะมือเหมาะกับการใช้งานหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์นาฬิกา แว่นตา เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงจักรยานและอุปกรณ์เสริมต่างๆ จาก 3D Printing ที่สามารถใช้งานได้จริงแล้ว
อุตสาหกรรมยานยนต์
วงการอุตสาหกรรมยานยนต์กับเทคโนโลยีนี้ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ผลิตชิ้นงานต้นแบบที่รวดเร็ว มีรายละเอียดชัดเจน เพื่อช่วยในการประเมินและทดสอบชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ก่อนการผลิตจริง ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ถูกออกแบบจากโปรแกรมสามมิติและผลิตขึ้นจาก 3D Printing ได้ทุกชิ้นส่วนทั้งคัน คือ Urbee Car รถยนต์คันแรกที่สร้างจากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติที่สามารถวิ่งบนถนนได้จริง
Urbee Car รถยนต์คันแรกจากเทคโนโลยี 3D Printing ที่สามารถวิ่งบนถนนได้จริง
ขอบคุณภาพ : www.geeky-gadgets.com
ภาพการทดสอบ “Made in Space” 3D Printer ของ NASA ในเครื่องบินจำลองสภาพไร้แรงดึงดูด เพื่อลองผลิตชิ้นส่วนของจรวดบนอวกาศ
ขอบคุณภาพ : www.applicadthai.com
โมเดลจำลองเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจงานออกแบบของสถาปนิก
ขอบคุณภาพ : www.sculpteo.com
“Bloom” สถาปัตยกรรมที่ใช้เทคโนโลยีจาก 3D Printing
ขอบคุณภาพ : Matthew Millman Photography
บ้านที่สร้างจาก 3D Printer ภายในเวลาไม่ถึงวัน
ขอบคุณภาพ : www.gizmag.com